กลุ่มเยาวชนรักษ์อีสาน

 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

 


  (pic1) 20091213_53781.jpg

เยาวชนกลุ่มรักษ์อีสานร่วมเรียนรู้วิถีชีวิตพอเพียงของชาวส่วย

(pic1) 20091213_53818.jpg

ศึกษาเรียนรู้ภาษาไทดำจาก   ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านนาป่าหนาด

(pic1) 20091213_53855.jpg

ศึกษาเรียนรู้ภาษาญัฮกุร(มอญโบราณ) ที่บ้านกลางพัฒนา

  

     (pic2) 20091213_61011.jpg(pic2) 20091213_61063.jpg(pic2) 20091213_61113.jpg(pic2) 20091213_61161.jpg

     รักษ์อีสาน หมายถึง การอนุรักษ์ สืบทอด พัฒนา ให้ความเป็นภาคอีสานยังคงอยู่ต่อไป ทั้งภูมิปัญญา ภาษา วัฒนธรมม ประเพณีท้องถิ่น วิถีชีวิต อันเป็นเอกลักษ์ที่แสดงถึงความพอเพียง ความเอื้อเฟื้อแบ่งปัน และการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข บ่งบอกถึงความเป็นคนอีสานและภาคอีสาน

      กลุ่มรักษ์อีสาน คือ การรวมตัวของกลุ่ม เครือข่าย ที่ดำเนินงานด้านเด็ก เยาวชน สังคม หลายๆเครือข่าย เพื่อดำเนินการอนุรักษ์ สืบทอด พัฒนา และเผยแพร่ความเป็นอีสาน ให้ยังคงอยู่คู่คนอีสาน ซึ่งเครือข่ายเหล่านี้อาจมีข้อจำกัดในการดำเนินงานในพื้นที่ สถาบัน หน่วยงาน หรือสังกัดของตนเอง "กลุ่มรักษ์อีสาน" จึงเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อขยายการดำเนินงานให้มีความเป็นอิสระและกว้างขึ้น กับสิ่งดีๆที่ทุกคนอยากร่วมกันทำเพื่อภาคอีสานของเรา โดยอาศัยประสบการณ์เดิมและความถนัดของแต่ละกลุ่มมาร่วมกันทำงาน เพื่อสร้างสรรค์ให้เกิดสิ่งดีๆขึ้นกับภาคอีสาน กระตุ้นให้เด็กและเยาวชนมีความภาคภูมิใจในรากเหง้า รักและหวงแหนในถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง

      อีสานภาษาสัมพันธ์ หมายความถึง ภาคอีสานนอกจากภาษา "ลาว" ซึ่งเป็นที่รุ้จักกันโดยทั่วไปแล้วนั้น ยังมีภาษาถิ่นในภาคอีสานอีกจำนวนมากที่มีการนำมาใช้พูดคุยสื่อสารกันในชีวิตประจำวัน แตกต่างกันออกไปตามสภาพพื้นที่และถิ่นกำเนิด และยังมีการสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างภาษาถิ่นแต่ละภาษาอยู่เสมอ ซึ่งบางภาษาอาจมีต้นกำเนิดมาจากภาษาเดียวกัน หรืออาจเกิดภาษาใหม่จากภาษาเดิมที่มีการใช้อยู่ พูดได้ว่าภาษาถิ่นเหล่านี้สร้างความสัมพันธ์ มีความเกี่ยวพันในการดำเนินชีวิตของคนแต่ละถิ่นแต่ละภาษาซึ่งกันและกันมาโดยตลอด "อีสานภาษาสัมพันธ์" จึงหมายถึง ความสัมพันธ์กันของภาษาถิ่นอีสานที่มีความหลากหลาย(ร่ายยาวให้งงเล่นเฉยๆ)

      โครงการอีสานภาษาสัมพันธ์ เป็นโครงการที่กลุ่มเราเล็งเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาถิ่นอีสานที่มีความหลากหลายและกำลังจะสูญหายไป เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไป ภาษานิยมใหม่ๆของวัยรุ่นที่เกิดขึ้น ทำให้ไม่นิยมและละทิ้งการพูดจาภาษาถิ่นของตน จึงทำให้ภาษาถิ่นอีสานหลายภาษาเริ่มสูญหายไป บางภาษาเหลือการใช้พูดคุยไม่ถึง 1% "โครงการอีสานภาษาสัมพันธ์" จึงจัดขึ้นเพื่อศึกษาเรียนรู้ อนุรักษ์ สืบทอด และเผยแพร่ภาษาถิ่นในภาคอีสานจำนวน 15 ภาษา คือ ลาว เขมร ส่วย เยอ มอญ ญวน โคราช ญัฮกุร ผู้ไท ย้อ โย้ย กะเลิง โส้ ไทเลย ไทดำ ผ่านสื่อในรูปแบบ ตำรา โปรแกรม ละคร เว็บไซต์ เป็นการสร้างสรรค์สิ่งเก่าประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้ภาษาถิ่นยังคงอยู่กับคนอีสานต่อไป รวมทั้งเป็นการใช้เทคโนโลยี ไปในทางที่สร้างสรรค์อีกด้วยเจ้าค่ะ

       (pic2) 20091213_61275.jpg


     
Online: 1  
Visits: 7,328  
Today: 3  
PageView/Month: 1  
Last Update: 13/12/2552     

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 7,328 Today: 3 PageView/Month: 1

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...